วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น     รูปแบบของการสื่อความหมาย
       การสื่อความหมายจำแนกได้หลายรูปแบบ ดังนี้
             1. จำแนกตามลักษณะในการสื่อความหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  1.1 ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (Verbal Communication)
                  1.2 ภาษาท่าทางหรือสัญญาณ (Non-Verbal Communication)
             2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งหรือผู้รับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  2.1 การสื่อความหมายทางตรง (Direct Communication)
                  2.2 การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect Communication)
             3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                  3.1 การสื่อความหมายทางเดียว (One-way Communication)
                  3.2 การสื่อความหมายสองทาง (Two- way Communication)
ทักษะการสื่อความหมาย
             ทักษะการสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
               1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
             2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
             3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
             4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ
เป็นต้น
ทักษะการจัดกระทำและการสื่อความหมายของข้อมูล
        เป็นความชำนาญในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้ชัดเจน ถูกต้องรวดเร็วและง่ายต่อการแปลความหมาย
        วิธีในการนำเสนอข้อมูล มีหลายวิธี เช่น การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน แผนภาพ แผนภูมิ แผนที่ แผนผัง ตาราง กราฟ วงจรหรือสมการ
        เป็นความชำนาญในการหาความสัมพันธ์เชิงปริมาณ โดยมีวิธีการนับ การคิดคำนวณโดยใช้วิธีบวก ลบ คูณ หาร การใช้ตัวเลขคิดสูตรทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนการจัดกระทำและการสื่อความหมายของหมายข้อมูล 
                              1. เลือกรูปแบบในการจัดทำนำเสนอให้เหมาะสมกับข้อมูล
                              2. จัดกระทำข้อมูลตามรูปแบบที่ได้เลือกไว้ โดยอาจทำได้ดังนี้
                                   2.1 จัดเรียงลำดับใหม่
                                   2.2 หาความถี่เมื่อมีข้อมูลซ้ำ
                                   2.3 แยกหมวดหมู่หรือประเภท
                                   2.4 คำนวณหาค่าใหม่
                   2.5 บรรยายลักษณะสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานที่ด้วยข้อความกะทัดรัดเหมาะสมจนสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น   ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ  และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
        บทบาทของสื่อการสอน   คือ   สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย  และน่าสนใจ  สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้  ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์  เรียนรู้อย่างชัดเจน   และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย
    สื่อการสอน   มี  4  ประเภท  คือ 
1.สื่อวัสดุ  
                2.สื่ออุปกรณ์
3.สื่อเทคนิคหรือวิธีการ  
4.สื่อคอมพิวเตอร์
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการเรียนการสอน  เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน   โดยใช้โมเดล    ASSURE    ดังนี้
A : Analyze Learner Characteristic
 S : State Objectives
S : Select your methods, media and materials
U : Utilize Media and Materials
R : Require Learner Participation
                E : Evaluation and Revise
A : Analyze Learner Characteristic  
การวิเคราะห์ผู้เรียน  จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
                                1.  ลักษณะทั่วไป  เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน  แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง  ได้แก่    เพศ  อายุ  ชั้นปีที่เรียน  ระดับสติปัญญา  ความถนัด  วัฒนธรรม สังคม  ฯลฯ
                                2.  ลักษณะเฉพาะ  เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน  ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน  ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน  เช่น ทักษะด้านภาษา  คณิตศาสตร์ การอ่าน  และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
การสื่อความหมายด้วยภาพ ( VISUAL COMMUNICATION)
ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อนจะประกอบด้วยภาษาพูด รูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ จากสิ่งเหล่านี้
การติดต่อสื่อความหมาย ที่ใช้สายตายังสามารถรักษาหลักฐานให้ยืนยงอยู่ได้หลายสมัยในทาง
ศิลปะอาจจะเรียกว่า เป็นภาษาสัญลักษณ์ หมาย ถึง ภาษาที่เกิดจากการมองเห็นด้วยรูปร่าง
รูปทรง และลักษณะ ซึ่งแตกต่างจากภาษาพูดที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ
          การแสดงด้วยภาพมักจะแสดงออกถึงความคิดในทางที่ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมา การถ่าย
ทอดวัฒนธรรมระหว่าง ประเทศที่ใช้ภาษาต่างกัน ภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาพเหมือน (Representation)
                หมายถึง ภาพที่แสดงถึงสิ่งที่เรามองเห็นและสังเกตได้จากสภาพแวดล้อม และประสบการณ์
ภาพสัญลักษณ์ (Symbolism)
หมายถึง มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นลักษณะของสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เรามองเห็นจริงโดยทำให้ดูง่ายขึ้นและมีความหมายชัดเจน
ภาพนามธรรม (Abstract)
            คือ การลดรายละเอียดจากสิ่งที่มองเห็นไปสู่องค์ประกอบในการมองขั้นพื้นฐาน ซึ่งความจริงแล้วการจะเข้าใจในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ที่มองเห็น มีความสำคัญมาก และการวาดภาพเหมือนให้เหมือนของจริงมากเท่าใด ความหมายของภาพจะอธิบายถึงสิ่งในภาพอย่างเฉพาะเจาะจงเท่านั้น