วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ
3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ
3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น
3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่านมาโดยใช้ประสาทสัมผัส ทางใดทางหนึ่งในการรับ เช่น ตามองดู หูรับฟัง เป็นต้น     รูปแบบของการสื่อความหมาย
       การสื่อความหมายจำแนกได้หลายรูปแบบ ดังนี้
             1. จำแนกตามลักษณะในการสื่อความหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  1.1 ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (Verbal Communication)
                  1.2 ภาษาท่าทางหรือสัญญาณ (Non-Verbal Communication)
             2. จำแนกตามตำแหน่งของผู้ส่งหรือผู้รับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                  2.1 การสื่อความหมายทางตรง (Direct Communication)
                  2.2 การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect Communication)
             3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                  3.1 การสื่อความหมายทางเดียว (One-way Communication)
                  3.2 การสื่อความหมายสองทาง (Two- way Communication)
ทักษะการสื่อความหมาย
             ทักษะการสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
               1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
             2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
             3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
             4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ
เป็นต้น
ทักษะการจัดกระทำและการสื่อความหมายของข้อมูล
        เป็นความชำนาญในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้ชัดเจน ถูกต้องรวดเร็วและง่ายต่อการแปลความหมาย
        วิธีในการนำเสนอข้อมูล มีหลายวิธี เช่น การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน แผนภาพ แผนภูมิ แผนที่ แผนผัง ตาราง กราฟ วงจรหรือสมการ
        เป็นความชำนาญในการหาความสัมพันธ์เชิงปริมาณ โดยมีวิธีการนับ การคิดคำนวณโดยใช้วิธีบวก ลบ คูณ หาร การใช้ตัวเลขคิดสูตรทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนการจัดกระทำและการสื่อความหมายของหมายข้อมูล 
                              1. เลือกรูปแบบในการจัดทำนำเสนอให้เหมาะสมกับข้อมูล
                              2. จัดกระทำข้อมูลตามรูปแบบที่ได้เลือกไว้ โดยอาจทำได้ดังนี้
                                   2.1 จัดเรียงลำดับใหม่
                                   2.2 หาความถี่เมื่อมีข้อมูลซ้ำ
                                   2.3 แยกหมวดหมู่หรือประเภท
                                   2.4 คำนวณหาค่าใหม่
                   2.5 บรรยายลักษณะสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานที่ด้วยข้อความกะทัดรัดเหมาะสมจนสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น